ตารางกิจกรรม

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

การแสดงภาคอีสาน


ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งเรื่องการละเล่นพื้นเมืองได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำ หมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในภาคอีสาน
2. กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ
• กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร - ส่วย หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเจรียง - กันตรึม"
• กลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเพลงโคราช"


ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ


1. เพลงพิธีกรรม
• กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ
• กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
2. เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
• กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า
• กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช


ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน


* หมอลำอีสาน หมอลำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำหมู่




=>หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้าความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย







=>หมอลำพื้น หมายถึง " หมอลำนิทาน " คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่เก่าแก่พอ ๆ กันกับ " ลำพื้น " ก็คือ " เว้าพื้น " ซึ่งตรงกับว่า " เล่านิทาน " หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วย






=>หมอลำกลอน คือ หมอลำที่ลำโดยใช้กลอน การลำสองคนโต้ตอบกัน







=>หมอลำหมู่ คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราว แสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นบ้านมาทำบทใหม่



เพิ่มเติม











หมอลำซิ่ง ลำซิ่ง เป็นการลำที่พัฒนาไปจากหมอลำกลอน ดังนั้นจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลำกลอนซิ่งเป็นการลำกลอนในแนวใหม่ซึ่งมีรูปแบบ การแสดงที่ประกอบด้วย การลำ การร้อง การฟ้อน และการเต้น คำว่า "ซิ่ง" น่าจะมาจากภาษาอังกฤษว่า "เรสซิ่ง" (racing) ซึ่งแปลว่าการแข่งขันลำซิ่งจึงเป็นการลำที่ใช้ลีลา จังหวะ ในการลำ การเต้น ที่รวดเร็ว ใช้ทำนองลำเดิน (ลำย่าว)ซึ่งเป็นทำนองทางสั้นวาดขอนแก่น เป็นทำนองหลัก แต่ใช้สำเนียงแบบลำทางยาวลำซิ่งเป็นท่วงทำนองในการลำที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเดิมทีเดียวเกิดขึ้นในลำเพลินก่อนเนื่องจากมีการนำดนตรีสากล พวกกลองชุดเข้ามาบรรเลงประกอบการแสดง พร้อมทั้งใช้ทำนองลำเพลิน ลำเดินลำเต้ยและเพลงลูกทุ่งประกอบ

ที่มา:
http://www.art2bempire.com/board/index.php?topic=7574.0
www.212cafe.com/.../view.php?user=kalasin&id=228
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

1 ความคิดเห็น:

Kapuk กล่าวว่า...

หมอลำเป็นศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน

...เราควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป

แสดงความคิดเห็น