ตารางกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ธรุกิจ e-commerce



การเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซ(E-commerce)
อันดับแรกควรศึกษาหาความรู้ที่จำเป็นต้องรู้ทั้งเกี่ยวกับการค้าขายทางออนไลน์ ตัวสินค้า การเริ่มต้นทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี แต่ต้องการรวดเร็วก็ขอคำแนะนำและปรึกษากับผู้ที่รู้จริงๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก ซึ่งเสี่ยงต่อความล้มเหลวได้ ที่ปรึกษาเหล่านี้จะให้คำแนะนำว่าควรเริ่มต้นอย่างไร ในที่นี้ไม่สามารถนำรายละเอียดต่างๆมากล่าวได้ทั้งหมด
ต้นทุนในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ(E-commerce)
ตั้งแต่หลักพันขึ้นไป จนถึงหลักล้านก็มีให้เห็น การลงทุนในธุรกิจนี้ ก็จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในแต่ละจุด (SWOT) ถึงแม้จะเป็นการลงทุนไม่มากก็จริง แต่หลักของการดำเนินธุรกิจก็จำเป็นต้องใช้เหมือนกรณีการทำธุรกิจทั่วๆไป ถ้าไม่รู้ก็จงขอคำแนะนำหรือปรึกษากับผู้รู้จะปลอดภัยสูง การลงทุนถ้าให้แนะนำควรเริ่มต้นตามกำลังของตัวเองก่อน แล้วค่อยๆก้าวไปอย่างมั่นคง






จุดเด่นของ อีคอมเมิร์ซ(E-commerce)
1. ลงทุนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจด้านอื่นๆ ( เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวยังใช้ทุนมากกว่า )
2. นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาเจ้าของคนเดียวก็ทำได้
3. ค้าขายได้ตลอดเวลา 24 ชม. ใน 365 วัน
4. ค้าขายได้ทั่วทุกมุมโลกตลอดเวลา 24 ชม.
5. ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง บริหารจัดการเองได้หมด
6. ประหยัด รวดเร็วทันใจ
และอื่นๆ อีกมากมาย











กลยุทธ์การทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชให้ประสบผลสำเร็จ

มีคนเพียงไม่ถึง 10% ที่ทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์หรือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชประสบความสำเร็จ อีกกว่า 90% ล้มเหลว เหตุผลข้อนี้คนที่ทำอีคอมเมิร์ชประสบความสำเร็จเท่านั้นที่สามารถตอบได้อย่างตรงจุด ส่วนมากจะทำเว็บไซต์ตามกระแสความนิยม เห็นคนอื่นทำแล้วประสบผลสำเร็จขายได้ก็อยากจะทำบ้าง แต่พอลงมือทำกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด กลับมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต หลังจากคัดเลือกเว็บไซต์ได้แล้วก็มาถึงการคัดเลือกโดเมนเนมของชื่อเว็บไซต์ หลักการคัดเลือกโดเมน ควรหาคำที่สั้นไม่ควรเกิน 3 คำ จำง่าย และสะกดง่าย พูดขึ้นมาสะกดได้เลยยิ่งเป็นการดี อาจจะมีความหมายกับธุรกิจได้ยิ่งเป็นการดี หลังจากคัดเลือกโดเมนได้เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงการสั่งซื้อเว็บไซต์ ( กรณีใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ) ถ้าเขียนโปรแกรมเองก็ต้องไปเช่าโฮสหรือพื้นที่สำหรับรองรับเว็บไซต์ที่จะสร้างขึ้นมา การวางโครงสร้างในเว็บไซต์ที่สร้างขึ้น ต้องมีการวางโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในเว็บไซต์ เพื่อให้ออกมาตามที่ต้องการ การวางตำแหน่งเนื้อหาแต่ละจุดควรวางให้เหมาะสม การสร้างเนื้อหาหรือคอนเทนท์ ต้องทำให้สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ข้อมูลดูและเข้าใจได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน สีของเว็บไซต์ควรเป็นแบบพื้นๆ เว็บไซต์ควรเข้าง่าย โหลดง่าย รูปภาพหรือกราฟฟิคมีไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้โหลดช้าลง


ประเภทของอีคอมเมิร์ซ มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น
1. แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท
2.แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท
3.แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน
4.แบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท




อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
1.ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต
2.ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
3.ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
4.รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้




อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
1. อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
- การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
- ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก

2. อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
- การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
- การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

3. อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
- การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
- การจัดการสินค้าคงคลัง
- การจัดส่งสินค้า
- การจัดการช่องทางขายสินค้า
- การจัดการด้านการเงิน





อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
1.การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
2.การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เน็ตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
3. อินเตอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
4. โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
5. การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ 6. ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น


อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
2. สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปาชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์


แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
1. Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม
2. Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท
3. Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น